วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 3 / วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558
เรียนเวลา 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนทำสื่อต่าง ๆ ได้แก่ สื่อแม่ไก่ออกไข่ และการประดิษฐ์ดอกไม้ด้วยกระดาษทิชชู่ 






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • ทำให้สามารถนำไปต่อยอด ทำเป็นดอกไม้อย่างอื่น ตามความต้องการได้ 
  • สามารถนำไปประดับตกแต่งบอร์ดนิทรรศการ หรือเป็นของที่ระลึก ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ได้ รวมถึงนำมาเป็นสื่อการสอนให้กับเด็กได้ ตามความเหมาะสม
  • หากฝึกฝนการทำจนเกิดทักษะชำนาญ ก็สามารถนำมาประดิษฐ์ขาย เพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่ตนเอง และครอบครัว
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็พยายามเรียนรู้จากเพื่อนคนที่ทำสื่อเป็น หรือขอคำปรึกษาจากอาจารย์ เพื่อการทำสื่อครั้งต่อไป จะได้มีการพัฒนา มีทักษะมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีน้ำใจ ที่จะช่วยเหลือกัน มีความกระตือรือร้นในการเรียน และทำกิจกรรมไปด้วย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดี ยินดีให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาตลอด มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีในทุกชั่วโมงที่เรียน ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น





วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 2 / วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558
เรียนเวลา 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
                    วันนี้อาจารย์ให้ระบายสีรูปภาพคนละ 1 รูป และทำปากสตว์ให้ขยับได้


ต่อมาอาจารย์ให้ทำดอกไม้คนละ 1 ช่อ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำมาทำสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ได้ตามความต้องการ หรืออาจจะนำมาประกอบการเล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟังก็ได้ เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจเด็กมากยิ่งขึ้น
  • สามารถนำมาทำเป็นของขวัญ หรือของที่ระลึกได้ ตามความต้องการ เพื่อให้ดูแปลกใหม่ น่ารัก ดูมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากครู
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือกัน จนงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ประเมินอาจารย์ : ประทับใจอาจารย์มาก ที่นอกจากจะทำให้ดูเป็นแนวทาง แล้วยังมาช่วย ลงมือทำกับนักศึกษา ให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่จะทำให้งานออกมาดีที่สุด 


การบันทึกครั้งที่ 1 / วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558
เรียนเวลา 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 3 สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

สื่อการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย   
สื่อ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์
ลักษณะของสื่อ มี 3 ประเภท
    1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้เป็น 2 กลุ่ม
1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์
  1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    3.2 การทดลอง   3.3 เกม  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์   3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา    3.8 การแสดงอิสระ   3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ
ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจ
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

1. การเลือกสื่อ ควรมีความปลอดภัย , คำนึงถึงประโยชน์ , มีความประหยัด , มีประสิทธิภาพ
2. วิธีการเลือกสื่อ
2.1 เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
 2.2 เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
 2.3 เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
 2.4 มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี
 2.5 มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
การนำเสนอสื่อ
1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ
1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด
สรุป สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
เครื่องเล่นของเด็กมีความสำคัญในการพัฒนาร่างกายและจิตใจของเด็กและเยาวชน ผู้ทำหน้าที่เป็นแพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องเครื่องเล่นพอสมควรทั้งนี้เพื่อจะได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกสรรและจัดหาเครื่องเล่นให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เล่นตลอดจนหาทางช่วยส่งเสริมการผลิตเครื่องเล่นให้มากขึ้นภายในประเทศโดยทางอ้อมต่อไป



วิเคราะห์สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


 ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนถึง 80 %  และได้เรียนรู้ถึงรายละเอียดของการเลือกของเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเพราะสีที่แสบตาจนเกินไปก็ไม่ดีต่อสายตาของเด็กและควรเลือกวัสดุที่ไม่อันตรายสำหรับเด็กและเด็กมีประโยชน์ในการเสริมพัฒนาการเด็ก
                    
     ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ นำเสนอของเล่นน่าสนใจและของเล่นแต่ละชิ้นก็มีประโยชน์และวิธีเล่นที่แตกต่างกันออกไปมีบล็อกไม้  จิ๊กซอ  หนังสือนิทาน  เครื่องดนตรี  

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการอธิบายเพิ่มเติมและให้รายละเอียดเพิ่มเติมทำให้ดิฉันเข้าใจเจาะลึกมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เราคิดว่าดีสำหรับเด็กอาจจะเป็นอันตรายได้ ทำให้เวลาที่เราจะซื้อของเล่นให้เด็กหรือประดิษฐ์สื่อให้เด็กเราต้องคิดให้เยอะมาก ต้องเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับวัยของเด็กอีกด้วย